" คุณธรรมเป็นมาตรฐาน บริการด้วยใจ "

Opening Hours : open 24 hours, every day
Contact : 02 901 8400 ถึง 8, 097 004 7046, 097 007 0871

แผนกนมแม่

      ปัจจุบันมีการรณรงค์การให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะนมแม่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์และสารอาหารครบถ้วนสำหรับทารก เหมาะสมต่อการย่อยและการดูดซึม และมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามวัยทารก ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกสมบูรณ์ ให้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคทำให้ไม่ค่อยเจ็บป่วย โดยเฉพาะหัวน้ำนม/นมน้ำเหลือง เป็นวัคซีนหยดแรกของชีวิต โดยมีเป้าหมายให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ตามธรรมชาติ และเตรียมความพร้อมคุณแม่เพื่อให้นมแม่ได้หลังจากกลับไปทำงาน


      โรงพยาบาลภัทร-ธนบุรีตระหนักถึงความสำคัญของนมแม่จึงจัดตั้งคลินิกนมแม่ โดยดูแลคุณแม่ร่วมกับ กุมารแพทย์ ศัลยแพทย์ และ กายภาพบำบัด คลินิกนมแม่จะมีการให้ความารู้คุณแม่และผู้มรส่วนร่วมในการเลี้ยงทารก โดยแบ่งการดูแลเป็น 2 ช่วง ก่อนคลอด และหลังคลอด และเมื่อกลับบ้านแล้ว โดยจะเน้นการให้นมลูกเป็นสำคัญ เพื่อให้คุณแม่มั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างสำเร็จ อย่างน้อย 6 เดือนแรกของชีวิตทารก

ปัญหาที่พบบ่อยของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
1. เต้านมคัด
2. น้ำนมน้อย, รู้สึกว่าน้ำนมไม่พอ
3. ลูกไม่ยอมดูดนม
4. เต้านมอักเสบ

การบริการปรึกษาแนะนำทางการแพทย์

ก่อนคลอด
  • ให้คำปรึกษาการเตรียมความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ให้คำปรึกษาการแก้ไขปัญหาหัวนมและเต้านมแก่สตรีตั้งครรภ์
หลังคลอด
  • ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่เพื่อฝึกทักษะการให้นมแม่อย่างถูกต้อง
  • ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่หลังคลอดที่มีปัญหาเต้านมและหัวนม เช่น เต้านมคัด เต้านมอักเสบ หัวนมเจ็บหรือเป็นแผล
  • ให้คำแนะนำคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ
  • ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่ที่มีปัญหาลูกไม่ยอมดูดนมแม่ สับสนหัวนม
  • ปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อดูแลปัญหาเต้านมอักเสบเป็นหนองร่วมกันเพื่อให้สามารถให้นมแม่ได้ขณะรักษา
  • ให้บริการนวดเต้านม และ ultrasound เต้านมร่วมกับแผนกกายภาพบำบัด
  • ให้คำแนะนำการเก็บสต๊อกน้ำนมแม่ เมื่อมารดาต้องกลับมาทำงาน
  • บริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.00 น.
ติดต่อ : ชั้น 5 แผนกนมแม่
สอบถามเพิ่มเติม/นัดหมายล่วงหน้า : โทร. 0-2901-8400 ถึง 8 กด 5122, 5123

คำถามที่พบบ่อยในการให้นมแม่...

การให้นมทดแทนเมื่อลูกร้องส่งผลอย่างไรกับนมแม่

      กรณีลูกร้องแล้วให้ลูกกินนมผสมทดแทนทันที จะมีผลให้ทารกอิ่มเร็ว ทำให้ทารกไม่ยอมดูดกระตุ้นนมมารดา ส่งผลให้มารดามีน้ำนมมาล่าช้าได้เนื่องจากไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ควรให้ลูกดูดนมบ่อยแค่ไหน

      ควรให้บ่อยเท่าที่เขารู้สึกหิว บางครั้งอาจทุกครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง เพราะดูดไม่นานก็เคลิ้มหลับไปเสียก่อน จึงทำให้ตื่นบ่อย

      แม่จึงควรกระตุ้นหรือปลุกให้ลูกดูดให้นานกว่าที่เขาต้องการ คอยจับเรอไล่ลมแล้วกลับมาดูดใหม่

      แต่บางครั้งการร้องของเด็กไม่ได้เกิดจากความหิวทุกครั้ง แม่จึงควรมีประสบการณ์ในการแยกแยะสาเหตุของการร้อง รวมถึงสังเกตอาการขยายตัวของหน้าท้องว่าท้องแฟบหรือท้องอืด การช่วยให้เด็กหยุดร้อง ไม่ได้มีเพียงแต่การให้ดูดเท่านั้น บางครั้งการอุ้ม การห่อตัวให้แน่นๆ การโยกไปมา การให้ยาช่วยขับลม อาจช่วยให้ลูกสงบได้

      บางครั้งเด็กอาจได้นมไม่พอจริงๆ หากเด็กไม่เรอ อุจจาระปัสสาวะน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่าน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์หรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนมแม่อาจช่วยได้ก่อนที่ปัญหาจะรุนแรงมากขึ้น

" ดูดนมทีละข้างหรือทั้งสองข้าง "

      ขึ้นอยู่กับความต้องการของแม่ และเด็ก เด็กบางคนดูดได้นานมาก แต่ดูดไม่บ่อยครั้ง หรือ บางคนขอดูดบ่อยๆ แต่กินทีละน้อย แม่บางคนมีน้ำนมมาก เวลาที่ลูกดูดข้างเดียวก็อิ่มแล้ว แนะนำให้ดูดให้เกลี้ยงเต้าหนึ่งข้างไปเลยเพื่อให้ได้รับน้ำนมส่วนท้ายซึ่งมีไขมันมากกว่า และน้ำตาลแลคโตสน้อยกว่าน้ำนมส่วนต้น ทำให้เด็กหลับได้ดีและไม่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เด็กจะมีการถ่ายกระปริบกระปรอยน้อยกว่าการได้รับแต่น้ำนมส่วนต้นเท่านั้น แต่บางคนต้องดูดสองข้างจึงอิ่ม ให้สลับเต้าที่ดูดเป็นข้างแรก เช่น ครั้งนี้ดูดข้างซ้ายก่อน ครั้งหน้าให้ดูดข้างขวาก่อน เพราะข้างที่ถูกดูดก่อนจะได้รับการกระตุ้นดีกว่าเพราะดูดได้เกลี้ยงเต้า

ทำอย่างไรให้เกลี้ยงเต้า

  • ต้องให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี (ดูดอย่างมีประสิทธิภาพ)
  • ใช้การนวดเต้านมและบีบหน้าอกช่วย
  • ให้ลูกดูดเต้านมทั้งสองข้างในแตะละมื้อ รอให้ลูกดูดข้างแรกนานจนพอใจ แล้วค่อยเปลี่ยนข้าง
  • บีบหรือปั๊มนมออกอีก หลังจากลูกดูดเสร็จแล้วและรู้สึกว่าลูกยังดูดไม่หมด ถ้าลูกดูดได้เกลี้ยงเต้าดีแล้ว การบีบหรือปั๊มจะช่วยได้มากขึ้น ถ้าทำเพิ่มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด (พยายามทำให้เต้าว่างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้)

ความกังวลเรื่องปริมาณน้ำนม

      คุณแม่บางคนก็น้ำนมมากโดยธรรมชาติ บางคนก็กระตุ้นมากไปจนมากเกิน หากต้องการลดปริมาณการผลิตน้ำนมโดยไม่ให้มีผลกระทบกับจำนวนครั้งในการดูดของลูกหรือต้องหย่านมลูก สามารถทำได้โดยการจำกัดการดูดนมของลูก ให้ดูดเพียงข้างเดียวในแต่ละมื้อ (ระยะห่างระหว่างมื้อ 3-4 ช.ม.หรือนานกว่า) แล้วสลับข้างในมื้อถัดไป ด้วยวิธีนี้ น้ำนมจะสะสมอยู่ในเต้าเต็มที่ก่อนที่จะเปลี่ยนข้าง (น้ำนมสะสมมากๆ à การผลิตจะลดลง)
      การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตน้ำนมในแต่ละช่วงวัยของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด ก่อนจะถึงจุดที่คุณแม่เริ่มรู้สึกว่า “นมมาแล้ว” นั้น กระบวนการผลิตน้ำนมเกิดจากการทำงานของฮอร์โมน ไม่ว่าจะอย่างไร ก็จะมีการผลิตน้ำนม (แต่ในปริมาณที่น้อย) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำน้ำนมออกจากร่างกาย

ถ้าน้ำนมมากไปจะทำอย่างไรดี

      การสร้างน้ำนมให้เพียงพอ แม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารและน้ำให้เพียงพอ นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ ให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อยๆ การให้เด็กดูดนมช่วงกลางคืนจะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมต่อเนื่อง เพราะฮอร์โมนที่ช่วยผลิตน้ำนมจะหลั่งออกมามากตอนกลางคืน ดังนั้นเวลากลางวันแม่ควรได้นอนพักบ้างเพื่อจะได้ตื่นให้นมตอนกลางคืนได้ ที่สำคัญ คือ ควรให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้า เพื่อกระตุ้นให้สร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น หากลูกดูดไม่หมด ควรบีบออกให้หมดด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนม
      ปกติน้ำหนักของเด็กจะลดลงประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักแรกเกิดในช่วงสัปดาห์แรก และเพิ่มขึ้น 20-30 กรัมต่อวันใน 3 เดือนแรก หากเด็กมีปัญหาน้ำหนักตัวขึ้นน้อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำก่อนตัดสินใจให้นมผง เพราะบางครั้งปัญหาอาจเกิดจากท่าดูดไม่ถูกต้อง พังผืดใต้ลิ้น หรือ ไม่ได้ให้ลูกดูดบ่อยเท่าที่ควร
      บางกรณีอาจต้องใช้การเสริมน้ำนม แต่ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าสายเสริมให้น้ำนม เป็นสายพลาสติกเล็กๆแปะติดกับหัวนมแม่ โดยจุ่มปลายอีกด้านหนึ่งในถ้วยใส่นมเสริม เวลาที่เด็กดูด น้ำนมจะไหลเข้าปาก ทำให้เด็กยอมดูดกระตุ้นที่หัวนม หลังดูดเสร็จ แม่ต้องปั๊มนมออกให้เกลี้ยงเต้าเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมกลับคืน

ให้นมแม่โดยใส่ขวด กับ ดูดเต้าต่างกันอย่างไร

      การให้ลูกกินนมแม่จากเต้านมจะมีกลไกการกินที่มีความแตกต่างจากการกินนมจากขวด ลักษณะการเคลื่อนที่ของลิ้นและการขยับของขากรรไกรของทารกจะไม่เหมือนกัน ในระหว่างการกินนมจากเต้า ทารกจะมีการหายใจที่สัมพันธ์กับการดูดและกลืนน้ำนม โดยอัตราส่วนการหายใจ การดูด และการกลืนนมจะเป็น 1:1:1 ในขณะที่ทารกที่กินนมขวด น้ำนมจะไหลเร็ว ทำให้ทารกหยุดหายใจและหายใจออกเร็วกว่า การให้ทารกกินนมจากขวดจะอาจทำให้ทารกคุ้นเคยกับการดูดนมจากขวดที่ไหลได้เร็วและทารกไม่ได้เคลื่อนลิ้นไปด้านหน้าในขณะกินนม เมื่อนำทารกมากินนมแม่จากเต้าจึงอาจมีความลำบาก ต้องฝึกลักษณะการดูดนมใหม่ ทารกที่ติดขวดนมแล้ว อาจจะหงุดหงิดและปฏิเสธการกินนมจากเต้า อย่างไรก็ตาม แม้มีความลำบาก หากมารดามีความตั้งใจที่จะให้ลูกกินนมแม่ร่วมกับการสนับสนุนของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นผู้ดูแล การเข้าเต้าเพื่อให้ทารกกินนมแม่ยังสามารถทำได้

รู้ได้อย่างไรว่านมเพียงพอ

คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจจะกังวลว่าลูกจะกินนมแม่พอหรือไม่ เวลาดูดนมจากเต้าจะรู้ได้อย่างไรว่าได้รับนมแม่พอ ลองสังเกตตามนี้ :

  • ขณะลูกดูดนม ได้ยินเสียงกลืนนมของลูก
  • เต้านมตึงก่อนให้นม และเต้านมนิ่มยวบหลังลูกอิ่ม
  • ในเดือนแรก ลูกปัสสาวะ 6 ครั้งขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ถ่ายอุจจาระ 4 - 8 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ลูกสงบ สบาย พักหลับได้ ไม่ร้องกวน
  • น้ำหนักลูกขึ้นดี ประมาณ 20-30 กรัมต่อวัน (ในสัปดาห์แรก ทารกจะมีน้ำหนักตัวลดลงประมาณ 5% สูงสุดไม่เกิน 10% ซึ่งเป็นปกติ)

อย่าลืมว่าทารกที่ร้องไห้อาจไม่ใช่เพราะหิวเสมอไป เขาอาจต้องการความอบอุ่นโดยการอุ้ม การกอด หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม ดังนั้นจึงไม่ควรป้อนนมทุกครั้งที่ลูกร้องไห้ แต่ควรสังเกตพฤติกรรมและเสียงร้องของลูกและตอบสนองอย่างเหมาะสม

ท่อน้ำนมอุดตันควรปฎิบัติอย่างไร

เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ :

  • อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั๊มให้บ่อยขึ้น นมที่ปั๊มอย่าทิ้ง เก็บได้ กินได้ ตามปกติ จัดท่าให้คางลูกอยู่ตรงตำแหน่งที่เป็นก้อน อาจต้องตีลังกาดูด ถ้าก้อนอยู่ด้านบน อาจให้พ่อแปรงฟันให้สะอาด ลองช่วยดูดดูโดยจินตนาการเหมือนดูดชานมไข่มุกที่ดูดไม่ขึ้น โดยใช้มือช่วยบีบไล่น้ำนมด้วย
  • การประคบอุ่นหรือร้อน จากด้านนอกผิวหนัง อาจไม่ช่วยอะไรมาก เพราะเป็น superficial heat แต่ไม่เสียหายที่จะลองทำดู วิธีที่ได้ผลคือ deep heat โดยการทำอัลตราซาวด์ที่แผนกกายภาพบำบัด ด้วยกำลัง 2 watt/cm2 นาน 5 นาที วันละ 1 ครั้ง โดยทำซ้ำได้ 2-3 วัน (โดยแพทย์เป็นคนสั่งการรักษา) แล้วตามด้วยการบีบน้ำนมไล่ออกมาตามท่อ ร่วมกับการดูดจากลูก จะช่วยให้ที่อุดตันหลุดเร็วขึ้น
  • ต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ถ้าเป็นนานเกิน 48 ชั่วโมงแล้ว ไม่เช่นนั้น อาจพัฒนาจนกลายเป็นฝีได้ยาปฏิชีวนะที่ใช้ โดยไม่มีปัญหากับการให้นม เช่น dicloxacillin ถ้าแพ้เพนนิซิลลิน ให้ใช้ clindamycin (ปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยา)
  • ถ้ามีจุดสีขาวที่หัวนม (white dot) ถ้าให้ลูกดูดขณะหิวจัดแล้วไม่หลุด ให้ใช้เข็มปลอดเชื้อ (ซื้อที่ร้านขายยา) สะกิดให้หลุด
  • ถ้าเป็นฝีแล้ว ห้ามให้หมอกรีดแผลเด็ดขาด แต่ให้ใช้เข็มเบอร์ใหญ่ที่สุด พยายามดูดออกหนองออกให้หมด อาจดูดซ้ำหลายๆครั้ง และให้ยาปฏิชีวนะให้นานจนฝีหยุบเป็นปกติ โดยไม่ต้องหยุดให้นมลูก และดูดเต้าได้ตามปกติ เมื่อไม่มีบาดแผลที่เต้า คุณแม่ก็ไม่เจ็บเวลาลูกดูด

เมื่อมีอาการเจ็บหัวนมควรทำอย่างไร

การให้นมแม่ไม่ควรเจ็บปวด ความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นในช่วงแรกแต่จะค่อยๆหายเจ็บทีละน้อยและหายเจ็บในที่สุด การงับหัวนมที่ผิดวิธีและท่าอุ้มให้นมที่ผิดเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บหัวนม เนื่องจากเด็กอาจงับลานนมได้ไม่ลึกพอจึงดูดเพียงบริเวณหัวนมซึ่งทำให้เจ็บ ถ้าคุณมีอาการเจ็บหัวนม คุณมักเลื่อนเวลาให้นมออกไปและนี่เองเป็นสาเหตุของอาการเต้าคัดตึงและนำไปสู่อาการท่อน้ำนมอุดตัน ถ้าลูกดูดนมอย่างถูกวิธีและดูดอย่างมีประสิทธิภาพ ลูกจะดูดได้นานเท่าที่ลูกต้องการโดยที่คุณไม่รู้สึกเจ็บ :

ข้อควรจำ: ถ้าลูกดูดนมแล้วคุณรู้สึกเจ็บให้เอาลูกออกจากเต้าก่อนแล้วเริ่มใหม่ ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหากยังรู้สึกเจ็บ

วิธีแก้ไข:
  • ตรวจสอบท่าอุ้มให้นมและท่างับหัวนมขณะดูดนมของลูก เพื่อลดความเจ็บปวด ควรให้ลูกอ้าปากกว้างและให้งับลานนมให้มากที่สุดที่จะทำได้ คุณควรรู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อจัดท่าของลูกได้ถูกต้อง ดู BreastfeedingKnowHow สำหรับข้อมูลเรื่อง ท่าดูดนมที่ถูกวิธี (correct latch) และ ท่าอุ้มให้นม (Positioning the Baby at the Breast)
  • อย่าเลื่อนเวลาให้นมออกไป พยายามผ่อยคลายเพื่อให้กลไกน้ำนมพุ่ง (Let down Reflex) เกิดได้ง่ายขึ้น คุณควรบีบนมออกเล็กน้อยก่อนเพื่อให้เต้านิ่มลงและลูกจะดูดได้ง่ายขึ้น
  • หากรู้สึกเจ็บหัวนมมาก ควรเปลี่ยนท่าให้นมในแต่ละครั้งที่ให้นม เพื่อลดการกดทับหัวนมที่ตำแหน่งเดิม
  • หลังให้นมเสร็จ บีบน้ำนมออกเล็กน้อยและนำมาทาเบาๆบริเวณหัวนม เนื่องจากน้ำนมแม่มีคุณสมบัติในการรักษาตามธรรมชาติและทำให้ผิวลื่น หลังจากให้นมเสร็จ พยายามผึ่งหัวนมให้แห้งก่อน หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายนุ่มๆ
  • การสวมแผ่นรองให้นม (nipple shield) ระหว่างการให้นมไม่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนม จริงๆแล้วมันทำให้เจ็บหัวนมนานขึ้นไปอีกเพราะทำให้ลูกยากลำบากในการเรียนรู้ที่จะไม่ใช้ nipple shield
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อชั้นในหรือเสื้อผ้าที่รัดเกินไปซึ่งจะไปกดทับบริเวณหัวนม
  • เปลี่ยนแผ่นรองซับน้ำนมบ่อยๆเพื่อไม่ให้เต้านมชื้นเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือครีมที่มีตัวยาสมานแผลหรือสารเคมีอื่นๆบริเวณหัวนม หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าต้องล้างหรือเช็ดออกก่อนให้นม การล้างเต้านมและหัวนมนั้นใช้น้ำสะอาดก็เพียงพอแล้ว
  • ใช้ลาโนลีนบริสุทธิ์ถูเบาๆบริเวณหัวนมหลังให้นมลูกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และดื่มน้ำมากๆจะช่วยในกระบวนการรักษา หากมีอาการปวดมาก อาจปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาแก้ปวดที่ไม่มีส่วนผสมของแอสไพริน
  • หากมีอาการเจ็บหัวนมเป็นเวลานาน หรือมีการเจ็บหัวนมเฉียบพลันหลังจากให้นมมานานหลายสัปดาห์และที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน คุณอาจติดเชื้อรา สัญณาณที่บ่งชี้ว่าติดเชื้อราคือมีอาการคัน ผิวแตกและแห้ง หรือมีผิวสีชมพู การติดเชื้ออาจเกิดจากเชื้อราในปากของลูกมาสัมผัสโดนหัวนม การติดเชื้ออาจมีลักษณะเป็นจุดสีขาวเล็กๆบริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก หรือลิ้น มันอาจมีลักษณะเหมือนผื่นผ้าอ้อมและไม่สามารถรักษาให้หายโดยใช้ยาทาผื่นผ้าอ้อม หากคุณมีอาการเหล่านี้และคิดว่าคุณติดโรคเชื้อราในช่องปาก ให้ไปพบแพทย์ของคุณหรือกุมารแพทย์ หรือ ที่ปรึกษาด้านการให้นม (Lactation consultant) เพื่อรักษา

สิ่งสำคัญ : ถ้าคุณยังมีอาการเจ็บหัวนมหลังจากพยายามทำตามคำแนะนำต่างๆแล้ว คุณควรไปพบผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมด้านการให้นมแม่โดยเฉพาะ เช่น Lactation consultant หรือ Peer Counselor (สำหรับประเทศไทย ให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่ที่ศูนย์นมแม่หรือคลีนิคนมแม่)

อาการเต้านมคัดเกิดขึ้นได้อย่างไร

เป็นเรื่องปกติที่เต้านมแม่จะใหญ่ขึ้น หนักขึ้นและบวมเมื่อมีการสร้างน้ำนมมากขึ้นในวันที่ 2-6 หลังคลอด ซึ่งการสร้างน้ำนมที่เพิ่มขึ้นนี้อาจทำให้เกิดเต้านมคัด เต้านมจะแข็งขึ้นและมีอาการปวด บวม ร้อน เต้านมมีสีแดงขึ้น บางครั้งอาจมีไข้ต่ำๆ และอาจทำให้สับสนกับโรคติดเชื้อที่เต้านม อาการคัดเต้านมเป็นผลจากร่างกายสร้างน้ำนมมากขึ้นมักเกิดขึ้นวันที่ 3-4 หลังคลอดบุตร ซึ่งทำให้การไหลเวียนโลหิตช้า เมื่อเลือดและน้ำเหลืองเคลื่อนผ่านเต้านม ของเหลวจากเส้นเลือดเหล่านี้มีการซึมผ่านบริเวณเนื้อเยื่อเต้านมทำให้เกิดการคั่งบริเวณเต้านม ต่อไปนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการคัดเต้านม

  • การดูดนมที่ผิดวิธีและท่าอุ้มให้นมที่ผิดวิธี
  • การพยายามจำกัดเวลาให้นมและการให้นมไม่บ่อยเท่าที่ควร
  • การให้อาหารเสริมอื่นโดยใช้ขวดนมเช่น น้ำ น้ำผลไม้ นมผสม หรือนมแม่
  • การใช้จุกหลอกบ่อยเกินไป
  • การเปลี่ยนเวลาให้นมเพื่อกลับไปทำงาน
  • ตัวลูกเองมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดูดนมเช่น นอนหลับตลอดคืน หรือดูดนมในบางช่วงของวันถี่ขึ้นแต่ไปดูดน้อยลงในเวลาอื่น
  • เด็กบางคนมีแรงดูดน้อย ซึ่งทำให้ไม่สามารถดูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • แม่มีความอ่อนเพลีย มีความเครียด หรือภาวะโลหิตจาง
  • เต้านมสร้างน้ำนมมากเกินไป
  • หัวนมเป็นแผล
  • ความผิดปกติของเต้านม

อาการเต้านมคัดอาจนำไปสู่ภาวะท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบ ดังนั้นควรพยายามป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หากปฏิบัติได้ถูกต้องอาการควรหายไปภายใน 1-2 วัน

วิธีแก้ไข:
  • ลดอาการเต้าคัดโดยให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีและการอุ้มให้นมให้ถูกท่า ให้ลูกดูดบ่อยๆและนานเท่าที่ลูกต้องการ ในช่วงแรกเมื่อน้ำนมมาเต็มเต้าพยายามปลุกลูกให้ดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง การให้ลูกดูดนมจากเต้าช่วยให้นมไหลได้ดีและระบายนมออกจากเต้าซึ่งทำให้เต้านมไม่เต็มจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้ขวดนมเสริมการให้นม หรือใช้จุกหลอกบ่อยเกินไป
  • ก่อนให้ลูกดูดนม พยายามบีบนมด้วยมือหรือปั๊มนมออกก่อนเล็กน้อยเพื่อให้เต้านม ลานนมและหัวนมนิ่มลง หรือนวดเต้านมให้ร้อนขึ้น
  • ความเย็นอาจช่วยบรรเทาอาการปวด แม่บางคนใช้ใบกะหล่ำปลีช่วยบรรเทาอาการเต้าคัด ถึงแม้ประสิทธิภาพของใบกระหล่ำปลีจะยังไม่มีการพิสูจน์ แต่แม่ๆหลายคนคิดว่ากะหล่ำปลีช่วยได้ คุณอาจใช้กะหล่ำที่แช่เย็นหรือที่อุณหภูมิห้อง ตัดให้เป็นช่องสำหรับหัวนม และวางลงบนเต้านมได้เลย โดยสวมไว้ในเสื้อชั้นใน ให้เปลี่ยนใบสดใหม่เมื่อใบเก่าเหี่ยวลง
  • เมื่อต้องกลับไปทำงาน พยายามปั๊มนมในเวลาเดียวกับที่ลูกเคยดูดนมที่บ้าน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหานให้ครบหมู่ และดื่มน้ำให้มากพอ
  • สวมเสื้อชั้นในที่พอดี ไม่รัดเกินไป

สิ่งสำคัญ : หากมีอาการเต้านมคัดเกิน 2 วัน หลังจากพยายามรักษาด้วยตัวเองแล้ว ให้ปรึกษาที่ปรึกษาด้านการให้นม (Lactation consultant)

แพ็กเกจและโปรโมชั่นแผนกนมแม่


ตารางออกตรวจกุมารแพทย์

แพทย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
พญ.สิริกร สุรัตนวนิช
กุมารเวชศาสตร์
07.00-17.00 08.00-17.00 07.30-20.00 07.00-20.00
พญ.ณหทัย อภิราชกมล
กุมารเวชศาสตร์
08.00-20.00 08.00-18.00 08.00-18.00 08.00-18.00
พญ.สุภัทรา วรรณประเสริฐ
กุมารเวชศาสตร์
08.00-17.00 08.00-14.30 08.00-17.00 08.00-14.30 08.00-17.00 08.00-12.00